บทที่2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
รายงานเรื่อง
การศึกษาวิธีการทอผ้าฝ้าย ผู้จัดทำได้มีการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องดังนี้
1.ประวัติความเป็นมา
2.ขั้นตอนการทอผ้า
3.ลักษณะเด่น
4.ลวดลายผ้าทอ
5.อุปกรณ์ที่ใช้ในการทอผ้า
ประวัติความเป็นมา
สายใยความผูกพันแห่งชีวิตและเส้นใย
ฝ้าย (cotton)
คือ เส้นใยเก่สาแก่ชนิดหนึ่งซึ่งใช้ในการทอผ้ามาแต่สมัยโบราณ
สิ่งที่บ่งบอกให้รู้ว่ามนุษย์มีการปลูกฝ้ายและปั่นฝ้ายเป็นเส้นด้ายมานานแล้ว
คือหลักฐานทางโบราณคดี ซึ่งขุดพบในซากปรักหักพังอายุประมาณ 3000ปี
ก่อนคริสตกาลที่แหล่งโบราณคดีโมฮันโจดาโร (Mohenjodaro) ซึ่งอยู่ในบริเวณแหล่งอารยธรรม
ลุ่มน้ำสินธุในเขตประเทศปากีสถานปัจจุบันเตรียมฝ้ายเข้าสู่กระบวนการผลิตส่วนการทอผ้าฝ้ายในประเทศไทยนั้น
คงมีขึ้นหลังการทอผ้าจากป่านกัญชา
สันนิษฐานว่าการปลูกฝ้ายในไทยรับเอาพันธุ์และวิธีการมาจากประเทศอินเดีย
และหลังจากพบว่าผ้าทอจากฝ้ายมีเนื้อนุ่ม สวมใส่สบายและย้อมติดสีดีกว่าผ้าป่านกัญชา
อีกทั้งขั้นตอนและกระบวนการแยกและเตรียมฝ้ายก็ไม่ยุ่งยาก
ใช้เวลาน้อยกว่าการเตรียมป่านกัญชามาก ชาวไทยจึงค่อย ๆใช้ป่านกัญชาลดลงตามลำดับ
ปัจจุบันแหล่งปลูกฝ้ายในประเทศไทย คือ จังหวัดเลย เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ ลพบุรี
ปราจีนบุรี สุโขทัย เพชรบุรี นครราชสีมา
และกาญจนบุรีพันธุ์ฝ้ายในประเทศไทยมีหลายชนิด และมีฝ้ายพื้นเมืองอยู่ 2 สายพันธุ์
ซึ่งให้ปุยสีขาวอย่างที่มักพบเห็นทั่วไป
และฝ้ายพันธ์ซึ่งให้ปุยสีน้ำตาลอ่อนที่ชาวบ้านเรียกกันว่าสีขี้ตุ่นหรือสีตุ่น
และเรียกฝ้ายชนิดนี้ว่าฝ้ายตุ่น ฝ้ายตุ่นเป็นพันธุ์ฝ้ายที่หายากและปั่นยากกว่าฝ้ายพันธุ์สีขาว
เนื่องจากมีปุยสั้นและไม่ค่อยฟูเหมือนพันธุ์สีขาว ดอกฝ้ายตุ่นมีขนาดเล็กสีน้ำตาล
เส้นใยสั้น ใช้เป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการทอผ้าด้วยมือแบบพื้นเมือง
ส่วนฝ้ายพันธุ์ชนิดอื่น ๆ มักใช้ทอผ้าในระดับอุตสาหกรรมฝ้ายผ้าที่ทอจากฝ้ายส่วนใหญ่คือ
ผ้าทอจากทางภาคเหนือ
ชาวล้านนาจะเริ่มปลูกฝ้ายราวเดือนพฤษภาคมและรอเก็บในเดือนพฤศจิกายน
นิยมเก็บฝ้ายก่อนที่ฝ้ายจะร่วงลงสู่พื้น ป้องกันไม่ให้ฝ้ายสกปรก
หลังจากเก็บฝ้ายแล้วชาวบ้านต้องนำฝ้ายไปตาก เพื่อคัดเอาแมลงและสิ่งสกปรกออก
ก่อนจะนำไปหีบหรืออีดในที่อีดฝ้าย แยกเอาเมล็ดออกก่อนนำไปปั่นเป็นเส้นด้าย
ขั้นตอนที่ 1:นำฝ้ายเป็นใจมาคลี่ออกใส่กงกว๊าง เพื่อนำไปพันใส่บ่าหลุกกวักฝ้าย
แล้วนำมาขินหรือปั่นใส่กระป๋องหรือหลอดไม้ขนาดใหญ่ การปั่นฝ้ายใส่กระป๋อง
ถ้าต้องการเส้นฝ้ายที่มีเส้นใหญ่ อาจจะปั่นครั้งละ ๒-๓ ใจ ให้เส้นฝ้ายมารวมกัน
ขั้นตอนที่ 2:นำกระป๋องที่มีเส้นฝ้ายพันอยู่ไปเรียงตามลำดับ สี
ของเส้นฝ้ายเส้นยืนตามลวดลายที่จะทอ โดยนำมาเรียงครั้งละประมาณ ๔๐ กระป๋อง
จะได้เส้นฝ้ายยืนครั้งละ ๔๐ เส้น แล้วนำแต่ละเส้นไปคล้องกับบันไดลิง เพื่อไม้ให้เส้นฝ้ายพันกันและขึ้นเฟือขอต่อไป
ขั้นตอนที่ 3:นำฝ้ายเส้นพุ่งจากบันไดลิงมาขึ้นเฟือขอ
ซึ่งเฟือขอจะทำหน้าที่สำหรับเรียงฝ้ายเส้นยืนตามความยาวที่ต้องการ
และทำการสลับเส้นยืนสำหรับใช้กับตะกอเส้นขึ้นเส้นลงด้านล่างของเฟือขอเมื่อสิ้นสุด
การเรียงเส้นฝ้ายจะนำแต่ละเส้นมาม้วนเพื่อให้เกิดลักษณะของการสลับเส้น
สำหรับการทอยกเป็นเส้นขึ้นเส้นลงที่ด้านล่างขาวของเฟือขอ
ขั้นตอนที่ 4: นำกลุ่มฝ้ายเส้นยืนจากเฟือขอมาขึ้นกี่
แล้วคลี่ฝ้ายเส้นยืนตามที่ได้กำหนดไว้
โดยใช้เขี้ยวหมาหรือฟันปลาเป็นตัวช่วยในการสางเส้นฝ้ายแต่ละกลุ่มเส้นออกจากกัน เส้นด้ายในการทอลายหนึ่ง
เพื่อแยกเส้นด้ายในการนำไปสืบฝ้ายกับเขาฟืม
ขั้นตอนที่ 5: หากทอลายเดิมที่เคยทอมา ก็จะนำฝ้ายเส้นยืนใหม่มาต่อกับเศษผ้าฝ้าย
หรือเชิงชายที่ตัดมาจากการทอครั้งก่อนที่เรียกว่า "เครือ"
เมื่อทอผ้าเสร็จแล้ว ช่างทอจะตัดผ้าที่ทอแล้วออกจากกี่ โดยคงเหลือเศษผ้าฝ้ายหรือเชิงชายจากการทอให้ติดอยู่กับตะกอและฟืม
เพื่อเป็นต้นแบบของลาย หากจะมีการทอลายนั้นในครั้งต่อไป
เพื่อให้การสืบต่อลายทำได้ง่ายขึ้น เพราะถ้าไม่เก็บไว้
การเริ่มต้นขึ้นลายใหม่จะมีความยากลำบากมาก
ดังนั้นช่างทอจึงต้องเก็บลายไว้ทุกเครือ เนื่องจากเส้นยืนมีความยาวมาก
ก่อนทอหรือเมื่อทอไปได้สักระยะหนึ่ง เส้นยืนอาจจะพันกันได้
ดังนั้นจึงต้องคอยคลี่จัดเส้นยืนออกไม่ให้พันกัน
ขั้นตอนที่ 6: หลังจากการสืบลายแล้ว สามารถเริ่มกระบวนการทอได้
โดยการเหยียบไม้เหยียบเพื่อยกเขาฟืมขึ้นลง แล้วพุ่งกระสวยสอดเข้าไปในช่องว่างระหว่างเส้นยืน
ให้เส้นพุ่งพุ่งไปขัดกับเส้นยืน และใช้ฟืมดันให้เส้นพุ่งอัดเรียงกันแน่น
แล้วใช้เท้าเหยียบไม้เหยียบให้ตะกอเส้นยืนสลับขึ้นลง
และพุ่งกระสวยกลับไปกลับมาขัดกับเส้นยืน หลังจากที่พุ่งเส้นพุ่ง ไป มา
และใช้ฟืมดันให้เส้นพุ่งแน่นหลายๆ ครั้ง ก็จะได้ผ้าทอเป็นผืน
แล้วนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ต่อไป
ลักษณะเด่น
ฝ้าย (Cotton) เป็นใยเซลลูโลสได้จากดอกของฝ้าย ผ้าที่ผลิตจากฝ้ายพันธุ์ดีเส้นใยยาว
ผิวของผ้าจะเรียบเนียน และทนทาน คุณภาพของผ้าฝ้ายขึ้นอยู่กับพันธุ์
ความยาวและความเรียบของเส้นใย ใยฝ้ายเองไม่ใคร่แข็งแรงนัก แต่เมื่อนำมาทอเป็นผ้า
จะได้ผ้าที่แข็งแรง ยิ่งทอเนื้อหนา-แน่นจะยิ่งแข็งแรง ทนทาน ดูดความชื้นได้ดี
เหมาะสำหรับทำผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า ผ้าฝ้ายเนื้อบางถึงเนื้อหนาปานกลาง
ใช้เป็นชุดสวมในฤดูร้อนจะรู้สึกเย็นสบาย คุณลักษณะเด่นของผ้าฝ้ายคือ
• ยับง่าย รีดให้เรียบได้ยาก
แต่ปัจจุบันมีการตกแต่ง (Finish) ทำให้ผ้าไม่ใคร่ยับและรีดให้เรียบได้ง่ายขึ้น
• ซักได้ด้วยผงซักฟอก
ซักรีดได้ที่อุณหภูมิสูง
• แมลงไม่กินแต่จะขึ้นรา
• ติดไฟ ไม่มียาง ไหม้เหมือนกระดาษ
เถ้ามีสีเทา นุ่ม
ลวดลายผ้าทอ
ลวดลายผ้าไหมที่ทำอยู่จากอดีตจนถึงปัจจุบัน
ลวดลายส่วนใหญ่ จะได้มาจากสภาพแวดล้อม และธรรมชาติที่เป็นอยู่ของชุมชน อาทิ
ลวดลายโบราณที่ทำตามวัสดุต่าง ๆ สำหรับในปัจจุบัน ลวดลายต่าง ๆ ได้มีการพัฒนา
และมีการประดิษฐ์ลวดลายต่าง ๆ เพิ่มขึ้น สำหรับลวดลายที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน
ได้แก่ ลายขอคำเดือน ลายสำรวจ ลายด่านใหญ่ ลายด่านกลาง ลายด่านเล็ก
ลายด่านเมืองลาว ลายนาค ลายคันชั่ง ลายหงส์ ลายขอกำ ลายขอขื่อ (ใหญ่ กลาง
เล็ก) ลายดอกแก้ว ลายขอดอกรัก ลายสิบซิ่ว ลายลวงใหญ่ กลาง เล็ก ลายนาคคอทบ
ลายนาคเกี่ยวก้น ลายตะเภา ลายขิดไม้ รอด และเผยแพร่ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการทอผ้า
อุปกรณ์ที่ใช้ในการทอ
1.
การผลิตฝ้าย
การปลูกฝ้าย
จะเริ่มปลูกประมาณเดือนพฤษภาคม และเก็บเกี่ยวเดือนธันวาคม - เดือนกุมภาพันธุ์
-
พันธุ์ฝ้ายที่นิยมปลูก
ดอกฝ้ายที่สมอแตกแล้ว
-
ฝ้ายใหญ่ (ต้นใหญ่)
-
ฝ้ายน้อย (ต้นเล็ก)
ปุยฝ้ายของฝ้ายตุ่ย
การเก็บฝ้าย จะเริ่มเก็บเมื่อแตกสมอ ปุยฝ้ายฟูเต็มที่เลือกเก็บแต่สมอที่แตกปุยดี
และเลือกปุยที่สะอาด เก็บเฉพาะปุยที่แห้ง ไม่มีน้ำค้างเกาะ
วิธีการ
: ดึงปุยฝ้ายออกจากกลีบสมอ ผึ่งให้แห้ง (ประมาณ 5 วัน)
เพื่อป้องกันมิให้เกิดราที่ปุยฝ้ายเมื่อเก็บไว้
ปุยอาจเป็นสีครีมหรือสีน้ำตาลอ่อนแล้วแต่พันธุ์
การแยกเมล็ด
จะแยกหลังจากผึ่งแดดจนปุยฝ้ายแห้งสนิท และขึ้นฟู โดยใช้เครื่องแยกเมล็ดที่เรียกว่า
อิ้ว
วิธีการ
: ส่งปุยฝ้ายลอดไม้อิ้วที่มีลักษณะเป็นลูกกลิ้งสองอันไปทางด้านหน้า
เมล็ดจะหล่นอยู่ทางด้านหลังของเครื่องอิ้ว
ส่วนที่ผ่านเครื่องอิ้วออกมาจะมีเฉพาะปุยฝ้าย
การดีดฝ้าย
เป็นการดีดใยฝ้ายให้แยกเป็นอิสระและขึ้นฟู โดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า
"กงดีดฝ้าย" ฝ้ายที่ดีดจนขึ้นฟูแล้วจะเรียกว่า "สำลี"
การล้อฝ้ายเป็นการล้อปุยฝ้ายที่ดีดแล้วให้เป็นดิ้ว
(เส้น) กลมๆ ยาวประมาณ 9 นิ้ว โดยใช้อุปกรณ์ล้อฝ้ายที่เรียกว่า "ไม้ล้อ"
ซึ่งประกอบด้วย
1)
แท่งไม้เล็กๆ คล้ายตะเกียบ ใช้ล้อปุยฝ้าย
2) แผ่นไม้ ขนาดเท่ากับไม้ตีปิงปอง ใช้รองรับปุยฝ้ายขณะล้อ
วิธีการ
: นำปุยฝ้ายขนาดเท่าฝ่ามือวางบนแผ่นไม้วางไม้ล้อทับลงบนปุยฝ้าย
ใช้มือคลึงให้ไม้ล้อหมุนไปบนปุยฝ้าย ปุยฝ้ายจะเกาะพันรอบๆ
ไม้ล้อเป็นดิ้วแล้วดึงไม้ล้อออก
การเข็นฝ้าย คือการปั่นด้ายฝ้าย
โดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า "ไน" หรือ "หลา" ซึ่งประกอบด้วย
เหล็กไน สายหลา และกงหลา
วิธีการ
: จ่อปลายดิ้วฝ้ายที่เหล็กไน หมุน กง - หลา พร้อมกับดึงดิ้วฝ้ายให้ยืดออก
เหล็กไนจะหมุนปั่นดิ้วฝ้ายให้เป็นเส้นด้าย
การเปียด้ายฝ้าย
วิธีการ
: นำด้ายฝ้ายที่เข็นแล้วมาพันเข้ากับไม้เปียด้ายให้ได้ความยาวพอประมาณ
อุปกรณ์ทอผ้าฝ้าย
-
อุปกรณ์เตรียมด้ายยืน ด้ายพุ่ง
1) กง ใช้พันเส้นด้าย
เพื่อเตรียมไจด้ายสำหรับฟอกและย้อม
2) อัก ใช้พันเส้นด้าย
เพื่อจัดระเบียบ
3) กระบอกไม่ไผ่
ใช้สำหรับพันเส้นด้าย ใช้แทนหลอดด้าย
4) แกนกระสวย
ใช้สำหรับพันด้ายพุ่งเป็นหลอดเล็กๆ
5) ไน
เป็นเครื่องมือสำหรับกรอด้ายเข้าหลอดด้าย ก่อนที่จะนำไปใส่กระสวย
ต้องนำไปใช้ร่วมกับระวิง มีลักษณะด้านหนึ่งเป็นกงล้อขนาดใหญ่มีเพลาหมุนด้าย
มีสายพานต่อไปยังท่อเล็กๆ ที่ปลายอีกข้างหนึ่ง6) หลักเปีย
(หลักเผีย) โครงไม้สำหรับเตรียมด้ายยืนสามารถเตรียมด้ายยืนยาว 20 - 30 เมตร (ปัจจุบันมีหลักเปียขนาดใหญ่ เตรียมด้ายยืนได้ยาวกว่า 100 เมตร)
7) แปรงหวีด้ายยืน
-
ใช้หวีด้ายยืนให้แผ่กระจาย และเรียงตัวเป็นระเบียบ
-
ใช้หวีด้ายยืนหลังจากลงแป้ง
8) อุปกรณ์สำหรับมัดหมี่คือ
โฮ่งมัดหมี่
-
เครื่องทอผ้าพื้นเมือง เรียกว่า กี่ หรือ หูกทอผ้า
ส่วนประกอบของกี่ทอผ้า
1) ฟืมหรือฟันหวี (reed) เป็นกรอบไม้แบ่งเป็นช่องถี่ๆด้วยลวดซี่เล็กๆ สำหรับจัดระเบียบเส้นด้ายยืน
ตีกระทบเส้นด้ายพุ่งเพื่อให้ผ้ามีเนื้อแน่นเป็นผืนผ้า
2) ตะกอหรือเขาหูก (harness) ส่วนใหญ่เป็นตะกอเชือก จัดกลุ่มเส้นด้ายยืนเปิดช่องด้ายยืน
สำหรับใส่ด้ายพุ่ง
3) แกนม้วนผ้าหรือไม้กำพั่น
ใช้ม้วนผ้าที่ทอแล้วใช้ลำต้นไม้ที่มีขนาดสม่ำเสมอ และเหยียดตรง
4) แกนม้วนด้ายยืน
ใช้ม้วนด้ายยืนขณะทอ
5) เท้าเหยียบ ใช้ควบคุมการยกตะกอ
6) ที่นั่ง สำหรับนั่งขณะทอผ้า
7) กระสวย
ใช้สอดใส่ด้ายพุ่งจะมีลักษณะคล้ายเรือ
มีร่องใส่แกนกระสวยมีทั้งแบบแกนเดี่ยวและแกนคู่
8) ผัง
-
ไม้เล็ก เรียว ยาวกว่าหน้าผ้าเล็กน้อย ปลาย 2
ข้างเป็นเหล็กแหลม
-
ใช้สำหรับขึงหน้าผ้าให้ตึง และมีขนาดคงเดิมขณะทอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น